เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 67. อุปาทาทุกะ 7. ปัญหาวาร
อาหารปัจจัย
[403] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป
โดยอาหารปัจจัย ได้แก่ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทายรูปโดย
อาหารปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยอาหารปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่
กายนี้ที่เป็นอุปาทายรูปและที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยอาหารปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
โดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
(บทที่มีสภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นมูล มี 3 วาระ ในปฏิสนธิขณะ ก็พึง
เพิ่มเป็น 3 วาระ) (3)

อินทรียปัจจัย
[404] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป
โดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูป
โดยอินทรียปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่
ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยอินทรียปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัย
แก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปและที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยอินทรียปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
โดยอินทรียปัจจัย มี 3 วาระ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปและที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นอุปาทายรูปโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์และจักขุวิญญาณเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย ฯลฯ กายินทรีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :237 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 67. อุปาทาทุกะ 7. ปัญหาวาร
ฌานปัจจัยเป็นต้น
[405] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยฌานปัจจัย มี 3 วาระ

เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี 3 วาระ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี 1 วาระ

วิปปยุตตปัจจัย
[406] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
โดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่ไม่
เป็นอุปาทายรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็น
ปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่ง
ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปโดย
วิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็น
อุปาทายรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :238 }